กกท. กทม. สสส. สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานครและมูลนิธิรณรงค์เพื่อไม่สูบบุหรี่ ผนึกกำลังประกาศก้องการกีฬาไทย (ไม่เอา) บุหรี่ไฟฟ้า
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2568 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซสการกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และประกาศเจตนารมณ์“การกีฬาไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในวงการกีฬาไทยศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่าตามที่ขณะนี้มีการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างรุนแรงในเด็กนักเรียนทั่วประเทศที่อายุน้อยลงไปจนถึงชั้นประถมศึกษาและการสำรวจพบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กนักเรียนประถมปลาย มัธยมต้นสูงถึง 20-30% จากหลาย ๆ การสำรวจรวมทั้งเริ่มพบว่ามีวัยรุ่นสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ผสมยาเสพติด เช่น ยาเค และยาซอมบี้
นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตรได้มีนโยบายให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนักเรียนอย่างเร่งด่วน ทั้งการปราบปรามแหล่งนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าทุกช่องทางรวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่สังคมเด็กและเยาวชนถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าวงการกีฬาโดยเฉพาะนักกีฬาทุกแขนงมีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่ไม่สูบบุหรี่ทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่เด็กและเยาวชนทั้งนี้ในอดีตบริษัทบุหรี่มีการใช้นักกีฬาเป็นสื่อบุคคลในการโฆษณาสินค้าบุหรี่แต่กฎหมายทั่วโลกได้ห้ามการกระทำเช่นนี้แล้ว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การกีฬาแห่งประเทศไทยสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ สสส. จะร่วมรณรงค์"การกีฬาไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”
นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กล่าวว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)จะร่วมกับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และหน่วยงานกีฬาต่าง ๆเพื่อทำให้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ลงนามในวันนี้ได้เกิดการขับเคลื่อนจริงด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยให้หน่วยงานภายใต้สังกัดดำเนินการจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560, สร้างความรับรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักกีฬาไทยทุกคนไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเป็นต้นแบบของเด็กและเยาวชนให้ไม่ตกเป็นเหยื่อและเป็นทาสของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า,สนับสนุนให้พื้นที่หรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาทุกประเภทเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าด้วยการติดสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าให้เห็นชัดเจนพร้อมการพูดประกาศเสียงตามสายตลอดระยะเวลาการแข่งขันมีการติดตามผลการดำเนินงานสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในหน่วยงานภายใต้สังกัด รวมถึงจะไม่รับทุนอุปถัมภ์หรือ CSRจากอุตสาหกรรมยาสูบทุกประเภท ตามข้อห้ามในมาตรา 35พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวเพิ่มเติมว่ากรุงเทพมหานครจะเน้นส่งเสริมให้หน่วยงานด้านกีฬาทุกประเภทในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยนักกีฬาทุกคนไม่สูบบุหรี่ทุกประเภท รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560และสนับสนุนการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเพื่อสร้างสุขภาวะในนักกีฬาและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครรวมถึงไม่รับทุนอุปถัมภ์หรือ CSR จากอุตสาหกรรมยาสูบทุกประเภทตามข้อห้ามในมาตรา 35 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560และสนับสนุนงานของสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานครร่วมบูรณาการกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักอนามัย และทุก ๆ สำนักเพื่อเร่งการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชน
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่าการส่งเสริมให้คนไทยออกกำลังกายเพื่อที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้นลดโอกาสเกิดโรค เป็นแผนงานหลักหนึ่งของ สสส. การรณรงค์“งานกีฬาไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”มีประโยชน์ต่อนักกีฬาและผู้เข้าร่วมงานกีฬาในหลายด้าน โดย 1)ช่วยรักษาสมรรถภาพทางกาย เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและอาจลดความสามารถในการส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อซึ่งนักกีฬาที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจติดขัด 2)ป้องกันผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจเพราะไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีสารพิษ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และโลหะหนักซึ่งอาจทำลายเซลล์ปอดและลดประสิทธิภาพในการหายใจนักกีฬาที่ต้องใช้ความอึด เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักว่ายน้ำอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากปอดที่อ่อนแอลง 3)ลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บและฟื้นตัวเร็วขึ้นเนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้หลอดเลือดหดตัวส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตลดลงซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้ช้าลง 4)สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพในงานกีฬาเพราะงานกีฬาควรเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมสุขภาพและแรงบันดาลใจให้คนมาออกกำลังกาย การไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้บรรยากาศดีขึ้นไม่มีควันหรือกลิ่นรบกวน และ 5)ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของนักกีฬาซึ่งนักกีฬามักเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปการไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทั้งนี้ในงานวันนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง“การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อนักกีฬาอย่างไร”เพื่อเป็นการให้ข้อมูลในเชิงประจักษ์จากคุณหมอ นพ.ธนีย์ ธนียวันอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอดประเทศสหรัฐอเมริกา, พญ.พิมพ์ชนก จันทร์สวัสดิ์กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), พลตรี นพ.ภูษิตเฟื่องฟู ศัลยแพทย์ โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้าและผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และตัวแทนนักกีฬา นำโดย นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอลและผู้แทนนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง
#การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
#สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร
#มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
#สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
0 Comments