Header Ads Widget

Header ADS

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ปี 2567

  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ปี 2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ณ อาคารสัมมนาสิริประภา เขื่อนรัชชประภา และชุมชนบ้านปากซวด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 


วันนี้ (14 พ.ค. 67) เวลา 9.00 น. ณ อาคารสิริประภา เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เครือข่ายเตือนภัยพบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ปี 2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารสัมมนาสิริประภา เขื่อนรัชชประภา และชุมชนบ้านปากซวด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนรัชชประภา คณะกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ชุมชนและเยาวชนเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 19 ชุมชน เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) อาสาปฏิบัติการภัยพิบัติ เข้าร่วมในพิธี จากนั้นคณะชมการสาธิตการเตรียมการเผชิญเหตุภัยพิบัติ กรณีน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ โดย ทีมเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) อาสา ปฏิบัติการภัยพิบัติ และทีมเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ชุมชนตำบลเกาะขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บริเวณท่าเรือกฟผ.

      และช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ บ้านปากซวด ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวแทนเยาวชนเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 19 ชุมชน เข้าร่วมอบรม "แลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเครือข่ายชุมชนเตือนภัยพิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" รับฟังการบรรยายแนวคิดอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน โดยวิทยากร จากอุทยานแห่งชาติเขาสก และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ จุดดูงาน 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 ระบบสำรองน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค – บริโภค จุดที่ 2 ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน จุดที่ 3 กองทุนชุมชน ความสุขที่ยั่งยืน

 

เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งขึ้นตามพระดำริในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่ทรงให้มูลนิธิฯ ดำเนินกิจกรรมด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเหตุอุทกภัยและดินถล่ม เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยจัดให้มีระบบการเตือนภัยล่วงหน้าโดยอาศัยเทคโนโลยีจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เชื่อมโยงกับการเฝ้าระวังในระดับชุมชน รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีองค์ความรู้ ความพร้อม และความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

 

มูลนิธิฯ จึงได้น้อมนำพระดำริมาดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและจัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จำนวน 19 แห่ง ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัยการเตือนภัยและอพยพกรณีประสบภัยพิบัติ รวมทั้งมีการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2562 

ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้ขยายเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ การบรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

      สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 19 ชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ไปถ่ายทอดและขยายผลให้แก่เยาวชนและเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างโครงข่ายของเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

Post a Comment

0 Comments